องค์ความรู้

ถอดบทเรียน
โครงการ “ทีมซ่า ท้ากึ๋น จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
ตามโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี 2556 
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
………………………………………
๑.      ชื่อเรื่อง โครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี 2556  โครงการ “ทีมซ่า ท้ากึ๋น จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”   ทีมที่ ๘   อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๒.      มูลเหตุจูงใจ  
          เกิดจากแนวคิดโดยรวมที่ทีมงานเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความท้าทายต่อขีดสมรรถนะการทำงานของคนพัฒนาชุมชนที่ยึดการทำงานเป็นทีมกับประชาชน ซึ่งมิใช่ในฐานะข้าราชการกับประชาชน แต่เป็นทีมงานมิตรสหายร่วมท้าทายในประเด็นของการสร้างความเข้มแข็งแก่ทีม  ซึ่งมีพันธกิจที่มิใช่ภารกิจสำคัญ 2 ประการ  คือ
         2.1 ร่วมกันประพฤติปฏิบัติตนบนพื้นฐานการนำมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) มาเป็นกลไกเชื่อมประสานให้ก่อเกิดภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นกระบวนงานที่มีระเบียบและแบบแผนเป็นสากล นำพาไปสู่ภาพลักษณ์ในความแกร่งของทีม สามารถเป็นแบบอย่างของการส่งเสริมให้เห็นในมิติความทรงคุณค่าของมาตรฐานงานชุมชนที่หลายคนหลายหน่วยงานอาจมองข้ามในความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือ แต่ที่แท้จริงแล้วคือเครื่องมือหรือกลไกที่มีความเป็นสากล ในการพัฒนาตนเองให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่นคง
         2.2 สามารถนำความแกร่งของทีมไปใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน ซึ่งเป็นทีมที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากมาตรฐาน มชช. ด้วยการทำงานอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือร่วมใจ  มีไหวพริบปฏิภาณนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจ การโน้มน้าวจูงใจร่วมกันหางบประมาณจากภายนอก ไปสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นไปด้วยสำนึกและการริเริ่มอย่างสร้างสรรค์สู่การยอมรับและศรัทธาจากประชาชน

๓.      พื้นที่ดำเนินงาน
อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๔.      รายละเอียดการดำเนินงาน (กระบวนการทำงาน /ขั้นตอน/ เทคนิค/วิธีการทำงาน/กลเม็ดเคล็ดลับ/ข้อพึงระวัง/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ)
๔.๑ รับสมัครผู้นำชุมชนเพื่อเข้ารับการประเมินมาตรฐานงานชุมชนและร่วมขับเคลื่อนโครงการฯของทีมอำเภอ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน ๔ คน จับคู่ร่วมกับผู้นำชุมชน จำนวน ๔ คน
๔.๒ ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการบุคลากรผู้ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด
๔.๓ ร่วมการลงนามในเอกสาร MOU ว่าด้วยการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด
๔.๔ ปฏิบัติการในพื้นที่โครงการของทีมอำเภอ
               ๔.๔.๑  การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานงานชุมชนประเภทผู้นำชุมชน
๑) จัดทำแผนปฏิบัติการของทีมงานประกอบด้วยพัฒนาการอำเภอ พัฒนากร
และผู้นำชุมชน
๒) แต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลมาตรฐานงานชุมชนระดับอำเภอ เพื่อรับรอง
ผลการประเมิน

-๒-
๓) พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานชุมชน
          อย่างน้อย ๑๕ คน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มเป้าหมาย คือ
                                      -กลุ่มที่ ๑ ผู้ตาม ได้แก่ ผู้ที่ทำงานร่วมกับเราแต่ระดับต่ำกว่า
                                      -กลุ่มที่ ๒ เพื่อนร่วมงาน  ได้แก่ เพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน ต่างหน่วยงานก็ได้
                                      -กลุ่มที่ ๓ กลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่สูงกว่าตน ต่างหน่วยงานก็ได้
๔) จัดทำแผนพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานงานชุมชนประเภทผู้นำชุมชน
          ประกอบด้วย ๓ ด้าน ๑๕ องค์ประกอบ
๕) ดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนพัฒนาตนเอง ๓ ด้าน ๑๕ องค์ประกอบ
๖) ดำเนินการประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานชุมชน โดย              
          ผู้ประเมิน ๓ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๕ คน
๗) รับรองผลการประเมินโดยคณะทำงานประเมินผลมาตรฐานงานชุมชนระดับ
อำเภอ
4.๔.๒  การแสวงหางบประมาณ/สิ่งของหรืออื่น ๆ จากแหล่งอื่น
         
๕. ผลการดำเนินงาน(สิ่งที่เกิดขึ้นจริง)ประกอบด้วย สถานการณ์/เงื่อนไขที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมา
๕.๑ ผลการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานงานชุมชนประเภทผู้นำชุมชน
          สมาชิกในทีมจำนวน ๘ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน ๔ คน จับคู่ร่วมกับผู้นำชุมชน จำนวน ๔ คน ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองครบทุกคน
๕.๒ ผลการแสวงหางบประมาณจากแหล่งอื่น  จำนวน 78 แหล่ง จำนวนเงิน 624,530 บาท
                   5.3 ผู้ได้รับการสนับสนุนเงิน/สิ่งของและอื่น ๆ  จำนวน 1,818 หน่วยนับ
                   5.4 ผู้ได้รับการบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ  100 (จัดเก็บจำนวน 86 คน)
๖.      บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ(วิเคราะห์/สังเคราะห์)
ยึดหลักการ “เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา”
๑) เข้าใจ คือ ผู้ร่วมทีมทุกคนได้รับการชี้แจงทำให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และเห็นความสำคัญของระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)
          ๒) เข้าถึง คือ ผู้ร่วมทีมทุกคนให้ความสำคัญกับโครงการและลงมือปฏิบัติตามแนวทางและแผนพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง
๓) พัฒนา คือ ผู้ร่วมทีมทุกคนได้รับการพัฒนาตนเองตามแนวทางและแผนพัฒนาที่กำหนดอย่างจริงจังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

๗.      ปัจจัย/เงื่อนไข ที่ทำให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือสาเหตุที่ทำให้ไม่สำเร็จ
ปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญก็คือ พฤติกรรม/ความรู้สึกรับผิดชอบของคนพัฒนาชุมชนเป็นปฐมเหตุ   
ต้องใช้ความเสียสละ อดทน ทุ่มเท เอาใจใส่ การรักษาน้ำใจ ภายใต้การมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน ใน 2 ประการ  คือ
          7.1 การสร้างความแกร่งแก่ทีม ด้วยการร่วมกันประพฤติ ปฏิบัติงาน การเป็นผู้ให้ที่ต้องทุ่มเทอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ที่มีเป้าหมายสูงสุดของประเด็นนี้ คือ ทั้งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและผู้นำชุมชนในฐานะมิตรสหาย สามารถได้มาซึ่งความมีมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) รับรองในประเภทผู้นำ(ผลิตของดีมา  ผู้ผลิตต้องใช้  ให้เขาเห็นเป็นประจักษ์)  เป็นแบบอย่างแก่สาธารณชนทั่วไป และเผยแพร่มาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ของกรมการพัฒนาชุมชนได้อย่างกว้างขวาง

-3-

          7.2 นำความแกร่งของทีมไปใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน/ประชาชน  ผู้ถือเป็นลูกค้าสำคัญ ที่ควรต้องให้ได้รับบริการ ทั้งในฐานะผู้สนับสนุนและผู้รับบริการ เป็นทีมเชื่อมโยงประสานความร่วมมือร่วมใจ ภายใต้การใช้เทคนิควิธีการโน้มน้าวจูงใจ หล่อหลอมความรู้สึกรับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณจากประชาชน/องค์กร/หน่วยงาน  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความท้าทายภายใต้วงเงิน 5 ล้านบาท ที่มิใช่พันธกิจง่ายดายนัก แต่เป็นเพราะพันธกิจหรือพันธะทางจิตใจที่ต้องขับเคลื่อนให้บังเกิดผลให้ได้สู่เป้าหมายสูงสุด คือการได้รับความศรัทธาจากประชาชน
          หากขาดไร้ซึ่งพฤติกรรม/ความรู้สึกรับผิดชอบเหล่านี้ การทำงานให้บรรลุเป้าหมายคงกระทำได้ยากยิ่งนัก
๘.      ข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อๆไป  ถ้าจะทำโครงการ/กิจกรรมหรือต้องทำงานในลักษณะเดียวกันนี้อีก จะต้องมีกระบวนการ/วิธีการหรือเทคนิคที่เป็นเคล็ดลับอย่างไร งานจึงประสบผลสำเร็จและดีกว่าเดิม
๘.๑ สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานและให้
ถือปฏิบัติอย่างจริงจังในการใช้ระบบมาตรฐานงานชุมชนเป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานงานชุมชน   อันจะทำให้เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน
๘.๒ ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบมาตรฐานงานชุมชนเพื่อ
ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานงานชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน


          ชื่อ-นามสกุล นางสาวกาญดา  แก้วเอียด              ตำแหน่งพัฒนาการอำเภอ
          ชื่อ-นามสกุล นายชาตรี  วรรณ์สุทธิ                  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
          ชื่อ-นามสกุล นางสาวชลาภรณ์ ผิวเผือก              ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ                   ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุพัตรา  ชุมยวง            ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ                ชื่อ-นามสกุล นายเสน่ห์  รอดภัย                       ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ม.๑ ต.ปากแพรก
          ชื่อ-นามสกุล นายโกเมน  โตขลิบ                      ตำแหน่งผู้นำ อช.ต.ช้างแรก
          ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุภาพร  ปานเพชร             ตำแหน่งผู้นำ อช.ต.บางสะพาน
ชื่อ-นามสกุล นางพรทิพย์  คงดี                        ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ม.๘ ต.ทรายทอง
         
ผู้ร่วมทีม




สรุปบทเรียน
“การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานงานชุมชน ประเภทผู้นำ”
โครงการ ทีมซ่า ท้ากึ๋น จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน
ตามโครงการริเริ่มสร้างสรรค์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปี 2556
โดย  นางสาวกาญดา  แก้วเอียด 
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
………………………………………
1.      ชื่อเรื่อง             การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานงานชุมชน
2.      มูลเหตุจูงใจ  
          เกิดจากแนวคิดโดยรวมที่ทีมงานเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความท้าทายต่อขีดสมรรถนะการทำงานของคนพัฒนาชุมชนที่ยึดการทำงานเป็นทีมกับประชาชน ซึ่งมิใช่ในฐานะข้าราชการกับประชาชน แต่เป็นทีมงานมิตรสหายร่วมท้าทายในประเด็นของการสร้างความเข้มแข็งแก่ทีม  ซึ่งมีพันธกิจที่มิใช่ภารกิจสำคัญ 2 ประการ  คือ
         2.1 ร่วมกันประพฤติปฏิบัติตนบนพื้นฐานการนำมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) มาเป็นกลไกเชื่อมประสานให้ก่อเกิดภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นกระบวนงานที่มีระเบียบและแบบแผนเป็นสากล นำพาไปสู่ภาพลักษณ์ในความแกร่งของทีม สามารถเป็นแบบอย่างของการส่งเสริมให้เห็นในมิติความทรงคุณค่าของมาตรฐานงานชุมชนที่หลายคนหลายหน่วยงานอาจมองข้ามในความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือ แต่ที่แท้จริงแล้วคือเครื่องมือหรือกลไกที่มีความเป็นสากล ในการพัฒนาตนเองให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่นคง
         2.2 สามารถนำความแกร่งของทีมไปใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน ซึ่งเป็นทีมที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากมาตรฐาน มชช. ด้วยการทำงานอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือร่วมใจ  มีไหวพริบปฏิภาณนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจ การโน้มน้าวจูงใจร่วมกันหางบประมาณจากภายนอก ไปสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นไปด้วยสำนึกและการริเริ่มอย่างสร้างสรรค์สู่การยอมรับและศรัทธาจากประชาชน

3.      พื้นที่ดำเนินงาน
อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.      รายละเอียดการดำเนินงาน (กระบวนการทำงาน /ขั้นตอน/ เทคนิค/วิธีการทำงาน/กลเม็ดเคล็ดลับ/ข้อพึงระวัง/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ)
๔.๑ ค้นหาผู้นำชุมชนเพื่อเข้ารับการประเมินมาตรฐานงานชุมชน ประเภทผู้นำชุมชน และร่วมเป็นคู่กันในการพัฒนาตนเอง
๔.๒ ร่วมการประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการทีมงานและผู้ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด
๔.๓ ร่วมการลงนามในเอกสาร MOU ว่าด้วยการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด
๔.๔ ปฏิบัติการในพื้นที่โครงการของทีมอำเภอ
              ๔.๔.๑  จัดทำแผนพัฒนาตนเองและผู้นำชุมชนที่จับคู่กัน
4.4.2  พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานชุมชน
          อย่างน้อย ๑๕ คน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มเป้าหมาย คือ

                                      -กลุ่มที่ ๑ ผู้ตาม ได้แก่ ผู้ที่ทำงานร่วมกับเราแต่ระดับต่ำกว่า
                                      -กลุ่มที่ ๒ เพื่อนร่วมงาน  ได้แก่ เพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน ต่างหน่วยงานก็ได้
                                      -กลุ่มที่ ๓ กลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่สูงกว่าตน ต่างหน่วยงานก็ได้
4.4.3 ดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนพัฒนาตนเอง ๓ ด้าน ๑๕ องค์ประกอบ คือ  
ด้านการบริหารตนเอง  ด้านการบริหารสังคม และด้านการบริหารงาน
4.4.4 ดำเนินการประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานชุมชน โดย               
          ผู้ประเมิน ๓ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๕ คน
4.4.5 รับรองผลการประเมินโดยคณะทำงานประเมินผลมาตรฐานงานชุมชนระดับอำเภอ
     ๕. ผลการดำเนินงาน(สิ่งที่เกิดขึ้นจริง)ประกอบด้วย สถานการณ์/เงื่อนไขที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมา
๕.๑ ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน
งานชุมชน จากผู้ประเมิน ๑๕ คน ๓ กลุ่มเป้าหมาย
5.2 ด้านการการบริหารตนเอง ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพในการแต่งกาย  และการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งการใช้คำพูดเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี
5.2 ด้านการบริหารสังคม ยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและการบูรณาการโดยการประสานงานกับหน่วยงานภาคี สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กร และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจากการบริหารงาน
5.3 ด้านการบริหารงาน ได้จัดทำแผนงานและจัดกิจกรรม/โครงการ นอกเหนือจากงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาและควบคุมติดตามผลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เช่น การตรวจสุขภาพกองทุนหมู่บ้าน
๖.      บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ(วิเคราะห์/สังเคราะห์)
ยึดหลักการ เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา
๑) เข้าใจ คือ ศึกษา ทำความเข้าใจตัวชี้วัดและชี้แจง ให้ความรู้แก่ผู้นำให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และเห็นความสำคัญของระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)
          ๒) เข้าถึง คือ ให้ความสำคัญและลงมือปฏิบัติตามแนวทางและแผนพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง
๓) พัฒนา คือ พัฒนาตนเองตามแนวทางและแผนพัฒนาที่กำหนดอย่างจริงจังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
๗.      ปัจจัย/เงื่อนไข ที่ทำให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือสาเหตุที่ทำให้ไม่สำเร็จ
7.1   ให้ความสำคัญและลงมือปฏิบัติตามแนวทางและแผนพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง
7.2  ระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ทุกคนมองว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานที่มีความเป็น
นามธรรมสูง ไม่สามารถให้การรับรองได้ว่าเป็นการประเมินมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญ เท่าที่ควร
     8. ข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อๆไป  ถ้าจะทำโครงการ/กิจกรรมหรือต้องทำงานในลักษณะเดียวกันนี้
อีก จะต้องมีกระบวนการ/วิธีการหรือเทคนิคที่เป็นเคล็ดลับอย่างไร งานจึงประสบผลสำเร็จและดีกว่าเดิม
๘.๑ สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานและให้
ถือปฏิบัติอย่างจริงจังในการใช้ระบบมาตรฐานงานชุมชนเป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานงานชุมชน   อันจะทำให้เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน
๘.๒ ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบมาตรฐานงานชุมชนเพื่อ
ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานงานชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน



ถอดบทเรียน
โครงการ “ทีมซ่า ท้ากึ๋น จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
ตามโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี 2556 
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
*****************
โดย
ผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ  -  สกุล                นายเสน่ห์     รอดภัย   
ตำแหน่ง                   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านดอนจวง ตำบลปากแพรก 
อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
วัน/เดือน/ปีเกิด            9  มีนาคม  2513
ศาสนา                     พุทธ
การศึกษา                  มัธยมศึกษาปีที่ 6
          อาชีพ                      ทำสวนยาง
รางวัลที่ภาคภูมิใจ         บุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริม สนับสนุน บริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติด
                               ดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2556
กระบวนการของการปฏิบัติ
1.      ร่วมการประชุมชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจ
2.      สมัครเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนประเภทผู้นำ
3.      ลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับคู่บัดดี้
4.      การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง
5.      การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
6.      การประเมินผล                
สิ่งที่ทำให้งานสำเร็จ
1.ด้านการบริหารตนเอง
                   1. ด้านบุคลิกภาพ    ได้พัฒนาบุคลิกภาพให้ดีขึ้นด้วยการแต่งกายด้วยชุดสุภาพเหมาะสมตามโอกาส ใช้คำพูดที่ดีไม่ว่าร้ายบุคคลอื่น พูดจาให้เกียรติผู้อื่น และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานกับทุกคน
                   2. ด้านความรู้ ความสามารถ    ได้ใช้ความรู้ ความสามารถที่ได้รับมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้ดีขึ้น และสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้กับประชาชนทั้งในหมู่บ้านและภายนอกชุมชน เช่น การจัดรายการวิทยุ เรื่องการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                   3. คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม รวมทั้งมีการลด ละ เลิกอบายมุข
                   4. วินัยในตนเอง ได้ยึดหลักการพึ่งตนเองในการดำเนินชีวิต เสียสละเวลาและอุทิศตนเพื่อสาธารณะประโยชน์


-2-

2.ด้านบริหารสังคม
                   1.  ด้านมนุษยสัมพันธ์   เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นกันเอง และสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับผู้อื่น รวมทั้งติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ  ได้เป็นอย่างดี           
2. ด้านความเป็นประชาธิปไตย  เป็นผู้ที่กล้าแสดงความคิดเห็น และให้โอกาสผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็น เคารพเสียงส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชนจะใช้มติที่ประชุมเป็นหลัก   ในการบริหารงาน
                   3. ด้านการประสานงานที่ดี  เป็นผู้ที่มีความสามารถในการประสานงานและทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทั้งในชุมชนและนอกชุมชนเป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถประสานขอรับงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านจากหน่วยงานต่าง ๆ
                   4. ด้านการเป็นที่ปรึกษาที่ดี เป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาและเป็นที่ปรึกษาที่ดีแก่คนในชุมชนและเพื่อนร่วมงาน
3. ด้านการบริหารงาน
                   1.  การวางแผน    สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ มีการวางแผนในการปฏิบัติงาน โดยบรรจุไว้ในแผนชุมชนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือจากภายนอกต่อไป
                   2.  การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ   แก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการเวทีประชาคม  เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและร่วมตัดสินใจ รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาบรรจุไว้ในแผนชุมชน   
                   3. การบริหารงบประมาณ    ใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการรายงานในที่ประชุมประจำเดือนทุกเดือน
                   4. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีการพัฒนาตนเองและรับอาสาเป็นต้นแบบในการพัฒนางานทั้งส่วนตัว และชุมชน ของหน่วยงานต่าง ๆ                  
5. การควบคุมและประเมินผล  ยึดระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ใน
การบริหารจัดการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
6.การสร้างและพัฒนาทีมงาน ยึดหลักการทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นใน
การพัฒนาหมู่บ้าน และรับอาสาเป็นเจ้าภาพในการทำงานในระดับตำบล
                   7.ความรับผิดชอบต่องาน มีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่สูง และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดต่องานที่ได้รับมอบหมายจะยอมรับและแก้ไขให้ประสบผลสำเร็จลุล่วง


ผลจากการที่ได้นำหลักการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)  มาเป็นเครื่องมือในการบริหารตนเอง บริหารสังคม และบริหารงาน ทำให้มีการพัฒนาตนเองและพัฒนางานมากยิ่งขึ้น โดยใช้ มชช.เป็นแนวทางและเครื่องมือในการทำงาน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากคน กลุ่มองค์กรในชุมชน กลุ่มองค์กรภายนอก และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


ถอดบทเรียน
                                            โครงการริเริ่มสร้างสรรค์โครงการ
                                         “ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน
อำเภอบางสะพานน้อย
ชื่อ – สกุล  นายชาตรี  วรรณ์สุทธิ   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ อำเภอบางสะพานน้อย
                จังหวัดประจวบคีรีขันธ์     โทร.  089-8807428              
                                        การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนประเภทผู้นำ 
   มูลเหตุจูงใจ
เกิดจากแนวความคิดโดยรวมที่ทีมงานเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความท้าทายต่อขีดสมรรถนะการทำงานของคนพัฒนาชุมชนที่ยึดการทำงานกับประชาชน  ซึ่งไม่ใช่ในฐานะข้าราชการกับประชาชน   แต่เป็นทีมงานเพื่อนคู่คิดร่วมท้าทายในประเด็นของของการสร้างความเข้มแข็งแก่ทีม ซึ่งมีพันธกิจที่ไม่ใช่ภารกิจสำคัญ ๒ ประการคือ
-          ร่วมกันประพฤติปฏิบัติตนบนพื้นฐานการนำมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) มาเป็นกลไกเชื่อมประสานให้ก่อเกิดภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นกระบวนงานที่มีระเบียบและแบบแผนเป็นสากล นำพาไปสู่ภาพลักษณ์ในความแก่งของทีม  สามารถเป็นแบบอย่างของการส่งเสริมให้เห็นในมิติความทรงคุณค่าของมาตรฐานงานชุมชนที่หลายคนหลายหน่วยงานอาจมองข้ามในความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือ แต่ที่แท้จริงแล้วคือเครื่องมือหรือกลไกที่มีความเป็นสากล  ในการพัฒนาตนเองให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่งคง
-          สามารถนำความแกร่งของทีมที่ไปใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน ซึ่งเป็นทีมที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากมาตรฐาน  มชช. ด้วยการทำงานอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือร่วมใจ  มีไหวพริบปฎิภาณนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจ การโน้มน้าวจูงใจร่วมกันหางบประมาณจากภายนอก ไปสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นไปด้วยสำนึกและการริเริ่ม อย่างสร้างสรรค์สู่การยอมรับและศรัทธาจากประชาชน
 วิธีการดำเนินงาน/เครื่องมือ
        เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจโครงการ“ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
        เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงทำความเข้าใจ“ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
แก่ผู้นำชุมชนในเวทีการประชุม/อบรม/เสวนา เพื่อค้นหาผู้นำชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการในกิจกรรมการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน ( ประเภทผู้นำ)
          ค้นหาผู้นำในชุมชนมาเป็นคู่ในการพัฒนาตนเอง และร่วมกันเป็นทีมซ่า ตามโครงการ
          พูดคุย แลกเปลี่ยน เป้าหมายการพัฒนาตนเองกับผู้นำที่เลือกเป็นคู่ของตนเอง ในการ
     สมัครเข้าสู่ระบบ มชช. โดยเน้นการพูดคุยไม่เป็นทางการ สร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญ 
     ของการเข้าสู่ มชช.ประเภทผู้นำว่าเป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการบริหารตนเอง  ด้าน
     การบริหารสังคม และด้านการบริหารงาน ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆต่อตนเองและสังคม
        รับสมัครเข้าสู่ระบบ มชช.โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอได้จับคู่กับผู้นำชุมชน
        ประชุมชี้แจงผู้ประเมินเพื่อทำความเข้าใจในโครงการและเกณฑ์การประเมินรายตัวชี้วัด
        ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด
        ผู้ประเมินได้ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมิน




แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
1) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
2)      หลักการบูรณาการการทำงาน
3)      ภาวะผู้นำ
4)      การประชาสัมพันธ์
กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
         พัฒนาตนทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือ สร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาชุมชน
สิ่งที่ทำให้งานสำเร็จ  โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน    
1.      การดำเนินงานเป็นการพัฒนาตนเอง โดยตนเองมีความต้องการในการพัฒนาแต่ละด้านด้วยความสมัครและตั้งใจจริง
2.    เป็นภารกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่ดำเนินงานอยู่แล้วเช่นการมีมนุษย์
    สัมพันธ์ที่ดี การบริการประชาชนด้วยวาจาที่สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
    การเป็นที่ปรึกษาได้ ฯลฯ
3.      การดำเนินโครงการเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
4.      การมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและงานในชุมชน
ผลการดำเนินงาน
 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอและผู้นำชุมชนที่สมัครเข้าระบบ มชช. ได้พัฒฯตนเองตามเป้าหมายที่ได้กำหนดในแผนพัฒนาตนเอง อันเนื่องมาจากกลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์การประเมิน เป็นผู้นำที่อยู่ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทำให้การพัฒนาตนเองเป็นรูปธรรมและเห็นผลชัดเจน
บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ (วิเคราะห์/ สังเคราะห์)
-          เป็นการจับคู่ในการดำเนินงานทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเสมือนเพื่อนคู่คิด

สาตุที่ทำให้ผลงานไม่สำเร็จ
1.      การกำหนดหัวข้อตัวชี้วัดแต่ละด้านมีจำนวนมากเกินไป
2.        การกำหนดให้มีเอกสารและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดำเนินงานมาก
3.        ผลจากการผ่านมาตรฐานงานชุมชน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากก่อน
     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากนัก ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจในการเข้า
     สู่ระบบ มชช.
 ข้อเสนอ
   -สร้างความเข้าใจในการเข้าสู่ระบบ  มชช. เป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งภายนอก  และภายใน
   -การเข้าสู่ระบบ มชช. ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ
  - การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระบบมาตรฐาน  มชช.เห็นถึงความสำคัญ





                                                         ถอดบทเรียน
โครงการริเริ่มสร้างสรรค์โครงการ
“ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
อำเภอบางสะพานน้อย
ชื่อ – สกุล  นายโกเมน   โตขลิบ   ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน  ตำบลช้างแรก     อำเภอบางสะพานน้อย
                จังหวัดประจวบคีรีขันธ์     โทร.  081-0081339              
                                        การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนประเภทผู้นำ 
   มูลเหตุจูงใจ
เกิดจากแนวความคิดโดยรวมที่ทีมงานเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความท้าทายต่อขีดสมรรถนะการทำงานของคนพัฒนาชุมชนที่ยึดการทำงานกับประชาชน  ซึ่งไม่ใช่ในฐานะข้าราชการกับประชาชน   แต่เป็นทีมงานเพื่อนคู่คิดร่วมท้าทายในประเด็นของของการสร้างความเข้มแข็งแก่ทีม ซึ่งมีพันธกิจที่ไม่ใช่ภารกิจสำคัญ ๒ ประการคือ
-          ร่วมกันประพฤติปฏิบัติตนบนพื้นฐานการนำมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) มาเป็นกลไกเชื่อมประสานให้ก่อเกิดภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นกระบวนงานที่มีระเบียบและแบบแผนเป็นสากล นำพาไปสู่ภาพลักษณ์ในความแก่งของทีม  สามารถเป็นแบบอย่างของการส่งเสริมให้เห็นในมิติความทรงคุณค่าของมาตรฐานงานชุมชนที่หลายคนหลายหน่วยงานอาจมองข้ามในความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือ แต่ที่แท้จริงแล้วคือเครื่องมือหรือกลไกที่มีความเป็นสากล  ในการพัฒนาตนเองให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่งคง
-          สามารถนำความแกร่งของทีมที่ไปใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน ซึ่งเป็นทีมที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากมาตรฐาน  มชช. ด้วยการทำงานอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือร่วมใจ  มีไหวพริบปฎิภาณนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจ การโน้มน้าวจูงใจร่วมกันหางบประมาณจากภายนอก ไปสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นไปด้วยสำนึกและการริเริ่ม อย่างสร้างสรรค์สู่การยอมรับและศรัทธาจากประชาชน
 วิธีการดำเนินงาน/เครื่องมือ
        เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจโครงการ“ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
        เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงทำความเข้าใจ“ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”
แก่ผู้นำชุมชนในเวทีการประชุม/อบรม/เสวนา เพื่อค้นหาผู้นำชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการในกิจกรรมการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน ( ประเภทผู้นำ)
          ค้นหาผู้นำในชุมชนมาเป็นคู่ในการพัฒนาตนเอง และร่วมกันเป็นทีมซ่า ตามโครงการ
          พูดคุย แลกเปลี่ยน เป้าหมายการพัฒนาตนเองกับผู้นำที่เลือกเป็นคู่ของตนเอง ในการ
     สมัครเข้าสู่ระบบ มชช. โดยเน้นการพูดคุยไม่เป็นทางการ สร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญ 
     ของการเข้าสู่ มชช.ประเภทผู้นำว่าเป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการบริหารตนเอง  ด้าน
     การบริหารสังคม และด้านการบริหารงาน ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆต่อตนเองและสังคม
        รับสมัครเข้าสู่ระบบ มชช.โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอได้จับคู่กับผู้นำชุมชน
        ประชุมชี้แจงผู้ประเมินเพื่อทำความเข้าใจในโครงการและเกณฑ์การประเมินรายตัวชี้วัด
        ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด
        ผู้ประเมินได้ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมิน




แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
1) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
2)      หลักการบูรณาการการทำงาน
3)      ภาวะผู้นำ
4)      การประชาสัมพันธ์
กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
         พัฒนาตนทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือ สร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาชุมชน
สิ่งที่ทำให้งานสำเร็จ  โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน    
1.      การดำเนินงานเป็นการพัฒนาตนเอง โดยตนเองมีความต้องการในการพัฒนาแต่ละด้านด้วยความสมัครและตั้งใจจริง
2.    เป็นภารกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่ดำเนินงานอยู่แล้วเช่นการมีมนุษย์
    สัมพันธ์ที่ดี การบริการประชาชนด้วยวาจาที่สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
    การเป็นที่ปรึกษาได้ ฯลฯ
3.      การดำเนินโครงการเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
4.      การมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและงานในชุมชน
ผลการดำเนินงาน
 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอและผู้นำชุมชนที่สมัครเข้าระบบ มชช. ได้พัฒฯตนเองตามเป้าหมายที่ได้กำหนดในแผนพัฒนาตนเอง อันเนื่องมาจากกลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์การประเมิน เป็นผู้นำที่อยู่ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทำให้การพัฒนาตนเองเป็นรูปธรรมและเห็นผลชัดเจน
บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ (วิเคราะห์/ สังเคราะห์)
-          เป็นการจับคู่ในการดำเนินงานทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเสมือนเพื่อนคู่คิด

สาตุที่ทำให้ผลงานไม่สำเร็จ
1.      การกำหนดหัวข้อตัวชี้วัดแต่ละด้านมีจำนวนมากเกินไป
2.        การกำหนดให้มีเอกสารและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดำเนินงานมาก
3.        ผลจากการผ่านมาตรฐานงานชุมชน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากก่อน
     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากนัก ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจในการเข้า
     สู่ระบบ มชช.
 ข้อเสนอ
   -สร้างความเข้าใจในการเข้าสู่ระบบ  มชช. เป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งภายนอก  และภายใน
   -การเข้าสู่ระบบ มชช. ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ
  - การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระบบมาตรฐาน  มชช.เห็นถึงความสำคัญ





การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง  ระบบมาตรฐานงานชุมชน
.............................

ชื่อเรื่อง                              ระบบมาตรฐานงานชุมชน
ชื่อองค์ความรู้                       มชช. กระบวนการพัฒนาตนเอง
ชื่อ – สกุลผู้ถอดบทเรียน           นางสาวชลาภรณ์  ผิวเผือก
ตำแหน่ง                             นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ  
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย
บันทึกเมื่อวันที่                      25 กรกฏาคม 2556
สถานที่                              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑.                 เนื้อเรื่อง
โลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของ
เทคโนโลยี การสื่อสาร สภาพเศรษฐกิจ และ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มีการส่งถ่ายถึงกันและกันเร็วขึ้น และจากการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นี้เองจึงเป็นเสมือน พลังผลักดัน ให้คนแต่ละคน ต่างต้องตระหนักถึง ความสำคัญของ การเปลี่ยนแปลง อันทำให้เกิดการ พัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อให้ตนมี ความพร้อมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งผู้ที่พัฒนาตนเอง ย่อมเป็นบุคคลที่ ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน ได้รับความก้าวหน้าใน สายอาชีพ ได้รับคำยกย่อง สรรเสริญมากกว่า ผู้ที่ทำงานอยู่ไปวัน ๆ โดยไม่สนใจที่จะ พัฒนา ความรู้และความสามารถของตนเอง ชอบทำงาน ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้างานเท่านั้น    ดังนั้นหากคุณมีความอยาก และต้องการที่จะ ประสบผลสำเร็จในชีวิต คุณไม่ควรรอ ให้หัวหน้างาน องค์การ หรือผู้อื่นมาพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของคุณเองในการทำงานเท่านั้น การเริ่มต้นที่จะ พัฒนาตนเอง โดยไม่พึ่งพาผู้อื่น เป็นสิ่งที่คุณควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง คุณต้องตระหนักอยู่เสมอว่า " ชีวิตคุณ คุณเป็นผู้เลือกที่จะลิขิตหรือ เลือกเส้นทางใน การดำเนินชีวิตเอง "ระบบงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน  (มชช.) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาตนเอง
๒.     บันทึกขุมความรู้ 
๒.๑  มีขั้นตอนการเตรียมตัวเองอย่างไร
          1. สมัครใจในการพัฒนาตนเอง 
         2. มีความพร้อมในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 
         3. มีความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชน 
  ๒.๒  มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร
          1. ขั้นการเตรียมการ ประกอบด้วย การเตรียมข้อมูล/เนื้อหา เตรียมตนเอง เตรียม
ทีมงาน เตรียมงาน 
                             2. ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย การสมัคร การสร้างความเข้าใจ การวิเคราะห์ตนเอง การสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างตัวชี้วัด การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และการดำเนินการตามแผน
                   3. ขั้นประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินผลด้วยตนเอง การประเมินผลโดยชุมชน/สมาชิก/คนรอบข้าง และการประเมินผลโดยคณะกรรมการ
                             4. ขั้นขยายผล
๒.๓  แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
          1. สนับสนุนพัฒนากรร่วมกันผู้นำ 1 คน  สมัครเข้าสู่ มชช.          
2. สร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ว่าระบบ มชช. เป็นระบบที่ใช้เพื่อการ
พัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานงานบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภท 

                   3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในทุกระดับ โดยการเชิญชวนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ สมัครใจเข้าร่วมเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามระบบ มชช. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการนำ มชช. ไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และสร้างช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการทำงานที่หลากหลาย 
                             4. พัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ มชช. ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถขยายผลการ ดำเนินงานและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ มชช. ได้ 
                   5. นำระบบ มชช.มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้ม    
๒.๔  มีกลยุทธ์ในการทำงานอย่างไร          
1. มีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง 
         2. เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 
         3. เน้นความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสม  
         4 สร้างสังคมคุณภาพ เพิ่มคุณค่า 
         5. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรม 
๒.๕  สรุปบทเรียน
·       ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
๑.  ดำเนินงานร่วมกันอย่างจริงจังในการพัฒนาตนเอง
๒.  การสร้างความเข้มแข็งของผู้นำ
๓.  ใช้แผนพัฒนาตนเองเป็นเครื่องมือ
๔.  ความพร้อมของผู้นำ
5.  สร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง
๘.  การติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ
  ·                 บทเรียนที่ดี
๑.   ผู้นำ มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง
๒.   มีการแต่งตั้งผู้ประเมิน 3 ระดับ ๆ ละ 5 คน  คือผู้ตาม เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
ปัญหา อุปสรรค
-
          กลเม็ดเคล็ดลับ
ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตามจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี “ต้องมีตั้งใจในการพัฒนาตนเอง 
จึงจะสำเร็จได้

๓.     กฎระเบียบ  แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  (ถ้ามี)
เครื่องมือ   มชช.
  
.............................




 การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง  ระบบมาตรฐานงานชุมชน
.............................

ชื่อเรื่อง                              ระบบมาตรฐานงานชุมชน
ชื่อองค์ความรู้                       เรียนรู้การพัฒนาตนเอง ด้วยตนเอง
ชื่อ – สกุลผู้ถอดบทเรียน           นางสาวสุภาพร  ปานเพชร
ตำแหน่ง                             ผู้นำ อช.ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย  
บันทึกเมื่อวันที่                      25 กรกฏาคม 2556
สถานที่                              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑.                 เนื้อเรื่อง
               การพัฒนาตนเอง โดยไม่พึ่งพาผู้อื่น เป็นสิ่งที่คุณควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง  และ "ระบบงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน  (มชช.) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาตนเอง
๒.     บันทึกขุมความรู้ 
๒.๑  มีขั้นตอนการเตรียมตัวเองอย่างไร
          1. สมัครใจในการพัฒนาตนเอง 
         2. มีความพร้อมในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 
         3. มีความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชน 
  ๒.๒  มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร
          1. ขั้นการเตรียมการ ประกอบด้วย การเตรียมข้อมูล/เนื้อหา เตรียมตนเอง เตรียม
ทีมงาน เตรียมงาน 
                             2. ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย การสมัคร การสร้างความเข้าใจ การวิเคราะห์ตนเอง การสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างตัวชี้วัด การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และการดำเนินการตามแผน
                   3. ขั้นประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินผลด้วยตนเอง การประเมินผลโดยชุมชน/สมาชิก/คนรอบข้าง และการประเมินผลโดยคณะกรรมการ
                             4. ขั้นขยายผล
๒.๓  แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
          1. สนับสนุนพัฒนากรร่วมกันผู้นำ 1 คน  สมัครเข้าสู่ มชช.          
2. สร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ว่าระบบ มชช. เป็นระบบที่ใช้เพื่อการ
พัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานงานบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภท 

                   3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในทุกระดับ โดยการเชิญชวนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ สมัครใจเข้าร่วมเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามระบบ มชช. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการนำ มชช. ไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และสร้างช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการทำงานที่หลากหลาย 
                             4. พัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ มชช. ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถขยายผลการ ดำเนินงานและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ มชช. ได้ 
                   5. นำระบบ มชช.มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้ม    
๒.๔  มีกลยุทธ์ในการทำงานอย่างไร          
1. มีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง 
         2. เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 
         3. เน้นความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสม  
         4 สร้างสังคมคุณภาพ เพิ่มคุณค่า 
         5. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรม 
๒.๕  สรุปบทเรียน
·       ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
๑.  ดำเนินงานร่วมกันอย่างจริงจังในการพัฒนาตนเอง
๒.  การสร้างความเข้มแข็งของผู้นำ
๓.  ใช้แผนพัฒนาตนเองเป็นเครื่องมือ
๔.  ความพร้อมของผู้นำ
5.  สร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง
๘.  การติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ
  ·                 บทเรียนที่ดี
๑.   ผู้นำ มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง
๒.   มีการแต่งตั้งผู้ประเมิน 3 ระดับ ๆ ละ 5 คน  คือผู้ตาม เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
ปัญหา อุปสรรค
-
          กลเม็ดเคล็ดลับ
ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตามจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี “ต้องมีตั้งใจในการพัฒนาตนเอง 
จึงจะสำเร็จได้

๓.     กฎระเบียบ  แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  (ถ้ามี)
เครื่องมือ   มชช.
  
.............................




แต่งแล้ว.JPGถอดบทเรียน

ชื่อ – สกุล นางสาวสุพัตรา  ชุมยวง
ตำแหน่ง     นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    ๐๓2-699003             
ชื่อเรื่อง     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนประเภทผู้นำ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ     มีนาคม – กรกฎาคม  2556
สถานที่เกิดเหตุ      อำเภอบางสะพานน้อย   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อเรื่อง
           การสมัครเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนหรือ มชช. เป็นเครื่องมือสำคัญสำคัญผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน หรือแม้แต่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเอง เพราะการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนทำให้รู้จักตนเอง สามารถประเมินและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ และเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนา ระบบมาตรฐานงานชุมชน ด้านผู้นำชุมชน ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี 2556 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ชื่อว่า โครงการ “ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนสมัครเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน และให้จับคู่กับผู้นำในชุมชนที่ตนเองได้ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมกันพัฒนาตนเอง และเกิดเป็นทีมงานที่มีความเข้มแข็งและท้าทายในการพัฒนาตนเองและทีมให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่นคง ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2556 มีเป้าหมาย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ยอมรับและศรัทธาจากการทำงานของคนพัฒนาชุมชน

วิธีการดำเนินงาน/เครื่องมือ
       ศึกษาทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนและตัวชีวัดประเภทผู้นำ อย่างรายละเอียด
         ค้นหาผู้นำในชุมชนมาเป็นคู่ในการพัฒนาตนเอง และร่วมกันเป็นทีมซ่า ตามโครงการ
         พูดคุย แลกเปลี่ยน เป้าหมายการพัฒนาตนเองกับผู้นำที่เลือกเป็นคู่ของตนเอง ในการสมัครเข้าสู่ระบบมชช. โดยเน้นการพูดคุยไม่เป็นทางการ สร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญของการเข้าสู่มชช.ประเภทผู้นำว่าเป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการบริหารตนเอง  ด้านการบริหารสังคม และด้านการบริหารงาน ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆต่อตนเองและสังคม
       สมัครเข้าสู่ระบบมชช
       จัดทำแผนพัฒนาตนเองร่วมกับคู่ผู้นำ
       ติดตามประเมินผล
แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
1) การศึกษาลักษณะมาตรฐานงานชุมชน ประเภทผู้นำ
2)    การเปิดใจ และสมัครใจในการเข้าร่วมพัฒนาตนเองตามโครงการ
3)    ภาวะผู้นำ
4)    การประชาสัมพันธ์

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
            “พัฒนาตนเอง เพื่อการพัฒนาชุมชนร่วมกัน”
สิ่งที่ทำให้งานสำเร็จ       
1.     การดำเนินงานเป็นการพัฒนาตนเอง การตนเองมีความต้องการในการพัฒนาแต่ละด้านด้วยความสมัครและตั้งใจจริง
2.  เป็นภารกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่ดำเนินงานอยู่แล้วเช่นการมีมนุษย์
    สัมพันธ์ที่ดี การบริการประชาชนด้วยวาจาที่สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
    การเป็นที่ปรึกษาได้ ฯลฯ
3.     การดำเนินโครงการเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
4.     การมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและงานในชุมชน

ปัญหา อุปสรรค
1.     การกำหนดกรอบตัวชี้วัดแต่ละด้านมีจำนวนมากเกินไป
2.     การกำหนดให้มีเอกสารและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดำเนินงานมาก ทำให้เพิ่มภารกิจงานพัฒนาชุมชนเจ้าหน้าที่รู้สึกเป็นภาระ
3.      ผลจากการผ่านมาตรฐานงานชุมชน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากก่อน
     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากนัก ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจในการเข้า
     สู่ระบบ มชช.


ชื่อผู้บันทึก      นางสาวสุพัตรา  ชุมยวง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ



ถอดบทเรียน

ชื่อ – สกุล      นางพรทิพย์  คงดี
ตำแหน่ง        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย
สังกัด           อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    089-9112393          
ชื่อเรื่อง     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนประเภทผู้นำ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ     มีนาคม – กรกฎาคม  2556
สถานที่เกิดเหตุ      อำเภอบางสะพานน้อย   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อเรื่อง
           จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางสะพานน้อย ได้กำหนดให้ผู้นำในชุมชนสมัครเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนหรือ มชช. เป็นเครื่องมือสำคัญสำคัญผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน คิดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนทำให้รู้จักตนเอง สามารถประเมินและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ และเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนา ระบบมาตรฐานงานชุมชน ด้านผู้นำชุมชน ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี 2556 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ชื่อว่า โครงการ “ทีมซ่า  ท้ากึ๋น  จุดยืนสร้างศรัทธาประชาชน”โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสมัครเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน และให้จับคู่กับผู้นำในชุมชนที่ตนเองได้ทำงานร่วมกัน สมัครเข้าระบบ มชช เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมกันพัฒนาตนเอง และเกิดเป็นทีมงานที่มีความเข้มแข็งและท้าทายในการพัฒนาตนเองและทีมให้มีจุดยืนในภาวะผู้นำที่มั่นคง ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2556 มีเป้าหมาย เกิดผลการเปลี่ยนแปลงเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ยอมรับและศรัทธาจากการทำงานของคนพัฒนาชุมชน

วิธีการดำเนินงาน/เครื่องมือ
       ศึกษาทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานพัฒนาชุมชนและตัวชีวัดประเภทผู้นำ อย่างรายละเอียด
         ค้นหาผู้นำในชุมชนมาเป็นคู่ในการพัฒนาตนเอง และร่วมกันเป็นทีมซ่า ตามโครงการ
         พูดคุย แลกเปลี่ยน เป้าหมายการพัฒนาตนเองกับผู้นำที่เลือกเป็นคู่ของตนเอง ในการสมัครเข้าสู่ระบบมชช. โดยเน้นการพูดคุยไม่เป็นทางการ สร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญของการเข้าสู่มชช.ประเภทผู้นำว่าเป็นการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการบริหารตนเอง  ด้านการบริหารสังคม และด้านการบริหารงาน ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆต่อตนเองและสังคม
       สมัครเข้าสู่ระบบ มชช.
       จัดทำแผนพัฒนาตนเองร่วมกับคู่ผู้นำ
       ติดตามประเมินผล
แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
1) การศึกษาลักษณะมาตรฐานงานชุมชน ประเภทผู้นำ
2)    การเปิดใจ และสมัครใจในการเข้าร่วมพัฒนาตนเองตามโครงการ
3)    ภาวะผู้นำ
4)    การประชาสัมพันธ์

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
            “เรียนรู้ตนเอง พัฒนาตนเอง เพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดร่วมกัน”
สิ่งที่ทำให้งานสำเร็จ       
1.     การดำเนินงานเป็นการพัฒนาตนเอง โดยตนเองมีความต้องการในการพัฒนาแต่ละด้านด้วยความสมัครและตั้งใจจริง
2.  เป็นภารกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่ดำเนินงานอยู่แล้วเช่นการมีมนุษย์
    สัมพันธ์ที่ดี การบริการประชาชนด้วยวาจาที่สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
    การเป็นที่ปรึกษาได้ ฯลฯ
3.     การดำเนินโครงการเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
4.     การมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและงานในชุมชน

ปัญหา อุปสรรค
1.     การกำหนดหัวข้อตัวชี้วัดแต่ละด้านมีจำนวนมากเกินไป
2.      การกำหนดให้มีเอกสารและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดำเนินงานมาก
3.      ผลจากการผ่านมาตรฐานงานชุมชน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากก่อน
     การเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชนมากนัก ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจในการเข้า
     สู่ระบบ มชช.


ชื่อผู้บันทึก      นางพรทิพย์  คงดี   ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น