งานในหน้าที่รับผิดชอบ



โครงการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)



โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการพัฒนาและเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน
ตามรอยพระยุคลบาท

..................................................................................................................................

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)


ข้อมูลโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
กข.คจ.
ความเป็นมา
ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1  ระหว่าง ปี 2536 - 2539  และขยายถึงปี 2540 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน  และมีมติอีกครั้ง  เมื่อวันที่  17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2  ระหว่าง   ปี 2541 - 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่ว
ประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จำนวน 28,038   หมู่บ้าน

หลักการ
สนับสนุนเงินทุนในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบ อาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน

ระเบียบการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2553

...........................................................................................................................................................

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต


ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต คือ การรวมตัวกันของประชาชนในการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้าน เงินทุน โดยการประหยัดทรัพย์ แล้วนำมาสะสมรวมกันทีละเล็กละน้อยอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้เป็นทุนสำหรับสมาชิกที่มีความจำเป็น/เดือดร้อน กู้ยืมไปใช้ในการลงทุน/พัฒนาอาชีพหรือเพื่อสวัสดิการของครอบครัว

เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ เป็นตราสัญลักษณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อแสดงให้เห็นถึงความประหยัด อดออม ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชน ก่อเิกิดเป็นทุนของชุมชนที่มีความเข้มแข็งมั่นคง และมีความเจริญงอกงาม แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเย็นแก่ชุมชน


รายการหัวเรื่อง
1คู่มือการสำรวจและรับรองคุณสมบัติกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

2แบบสำรวจและรับรองคุณสมบัติกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

3ตัวอย่างรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

4ไฟล์นำเสนอสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน เรื่องกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

 ........................................................................................................................................................

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ข้อมูลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
กทบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง คือ แหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ความรู้ทั่วไปกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการและกิจกรรมที่สำคัญเพื่อพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง


ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

แบบคำขอออกใบแทนกรณีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลชำรุดหรือสูญหาย
................................................................................................................................................


ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) 

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เป็นการสำรวจจากจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันที่จัดเก็บ โดยผู้ที่ถูกสำรวจต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 180 วัน ภายในปีข้อมูลที่ทำการจัดเก็บนั้น ๆ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับจำนวนประชากรที่มีอยู่จริงในจังหวัด โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 2 พื้นที่ คือ 1.พื้นที่เขตชนบท (ทุกหมู่บ้านที่อยู่ในเขต อบต. และเขตเทศบาลตำบลที่ยกฐานะมาจาก อบต.)  2.พื้นที่เขตเมือง (ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร และเทศบาลตำบลที่ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลรวมทั้งเมืองพัทยา และ กทม.)
  • แนวทางการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ.   (
    หนังสือสั่งการ แนวทางการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.  คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม จปฐ.
    ..........................................................................................................................................

ผลิตภัณฑ์ OTOP 
OTOPOTOP เป็นคำย่อที่มาจากคำว่า One Thumbon One Product ที่นำไอเดียมาจากประเทศญี่ปุ่นใน โครงการ OVOP One Village One Product ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลเพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ใน การพัฒนาสินค้าโดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่าง ประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ




  • ประเภทอาหารหมายถึง ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Q mark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายทั่วไป
  • ประเภทเครื่องดื่มหมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
  • ประเภทผ้า เครื่องแต่งกายหมายถึง ผ้าทอ และผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกายที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกาย ทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและเพื่อความสวยงาม
  • ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึกหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีไว้ใช้หรือตกแต่งประดับในบ้าน สถานที่ต่างๆ เช่น เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องเรือน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย ประดับตกแต่ง หรือให้เป็นของขวัญ ฯลฯ
  • ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารหมายถึง ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรือมีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ อาจใช้ประโยชน์ และอาจส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ยาจากสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน สมุนไพรไล่ยุง เป็นต้น
 .............................................................................................................................................

แผนชุมชน

แผนชุมชน คือ แผนที่คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดเพื่อวางเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน เช่น
- แผนที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยตรง
- แผนงานหรือกิจกรรมทางเลือกที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน
- กิจกรรมหรือแผนงานที่คนในชุมชนช่วยกันคิด เพื่อทำให้อนาคตของคนในชุมชนเป็นไปอย่างที่หวังไว้

"แผนชุมชน" เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารจัดการชุมชนที่แสดงถึงประสิทธิภาพของความร่วมมือ และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา
.................................................................................................................................

ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน(กชช.2ค) 

ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน(กชช.2ค)ข้อมูล กชช.2ค คือ ข้อมูลระดับหมู่บ้านที่แสดงสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งของชุมชน สุขภาพและอนามัย สภาพแรงงาน และยาเสพติด ซึ่งดำเนินการจัดเก็บทุกหมู่บ้านในเขตชนบทเป็นประจำทุก 2 ปี ทำให้ทราบว่าประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ มีคุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในด้านต่างๆ เป็นอย่างไร แต่ละหมู่บ้านมีปัญหาในเรื่องใดบ้าง
  • แนวทางการบริหารจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค
    หนังสือสั่งการ แนวทางการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค  คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม กชช.2ค
    ..................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น